THAC ร่วมกับ SHIAC จับมือลงนามเซ็น MoU ปักธงพัฒนาการระงับข้อพิพาททางเลือก เตรียมพร้อมการลงทุนระหว่าง ไทย – จีน ในอนาคต
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา สถาบันอนุญาโตตุลาการ (THAC) นำโดย นายพสิษฐ์ อัศววัฒนาพรผู้อำนวยการสถาบันฯ พร้อมด้วย คุณ หวาง เหวยจุน เลขาธิการใหญ่ประจำศูนย์ Shanghai International Arbitration Center (SHIAC) คุณเชน ฮอง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการค้าและการลงทุน Shanghai Council For the Promotion of International Trade (CPIT) ร่วมกับจรดปากกลงนามความร่วมมือ (MoU) ในนามของศูนย์ระงับข้อพิพาททางเลือกประจำประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อผนึกกำลังเตรียมความพร้อมรับมือการระงับข้อพิพาทที่อาจะเกิดขึ้นในยุทธศาสตร์ทางการค้า One Belt One Road (OBOR) โดยพิธีได้จัดขึ้นผ่านระบบปฏิบัติการ Zoom Conference
นายพสิษฐ์ อัศววัฒนาพร พร้อมกับคุณหวาง เหวยจึน และเชน ฮอง กล่าวปาฐกถาพิเศษถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่าเป็นเกียรติ และนิมิตหมายที่ดีต่อทั้งภาคการลงทุนระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความมือกันในด้านกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะการสนับสนุนกระบวนการระงับข้อพิพาททางเลือกร่วมกัน ถือเป็นการเตรียมความพร้อมอันชาญฉลาดต่อยุทธศาสตร์ทางการค้า “OBOR” ที่จะช่วยส่งเสริมให้ภาคธุรกิจดำเนินการลงทุนกันได้อย่างไร้ซึ่งอุปสรรคในแง่มุมของข้อพิพาทระหว่างประเทศที่อาจะเกิดขึ้น เพราะกระบวนการอนุญาโตตุลาการ หรือการประนอมข้อพิพาทนั้นเป็นเครืองมือสำคัญที่ช่วยให้จบปัญหาข้อพิพาทได้เร็ว และรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ทางการค้าร่วมกันต่อไปได้
นอกจากนี้ พิธีลงนามดังกล่าว ปาฐกถาพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญด้านการระงับข้อพิพาททางเลือกโดย นายวิศิษฏ์ ศรีวัฒนปัญญา ที่ปรึกษากฎหมายประจำสถาบันฯ ร่วมกับ คุณ เหยา ฮองมิน รองเลขาธิการ SHIAC ภายใต้หัวข้อ “แนวทางปฏิบัติด้านการอนุญาโตตุลาการใหม่ระหว่างประเทศไทยกับจีน” โดยพูดถึงประเด็นการส่งเสริม
และพัฒนา การระงับข้อพิพาททางเลือกทั้งในด้านการอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาท ทั้งในด้านความร่วมมือในการศูนย์ระงับข้อพิพาทไทย – จีน (TCIAC) โดยมุ่งหวังที่จะสร้างความเชื่อมั่น และลบผลกระทบของความขัดแย้งในธุรกิจ หรือการลงทุนระหว่างประเทศ ที่มีความแตกต่างของข้อกฎหมายในแต่ละประเทศ อาจนำมาซึ่งงความซับซ้อนของการพิจารณาคดี ผ่านการแก้ไขปัญหาด้วยการระงับข้อพิพาททางเลือกที่จะอำนวยความสะดวกแก่ทั้งสองฝ่ายร่วมกัน
ยิ่งไปกว่านั้น พิธีการลงนามดังกล่าวยังมีหัวข้อสวนาที่น่าสนใจอีกหนึ่งประเด็นเช่นกันอย่าง “ผลกระทบของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ในแง่ของการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ” โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญไม่ว่าจะเป็นคุณ วรพจน์ เจนสวัสดิชัย เลขานุการกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย คุณดลพร อัชววรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ณ นครเซี่ยงไฮ้ ตลอดจนคุณเพชรลดา พึ่งประเสริฐ
ที่ปรึกษากฎหมายประจำสถาบันฯ เข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ร่วมกัน ถึงที่มา ปัจจุบัน อุปสรรค และความท้าทายของกระบวนการอนุญาโตตุลาการในประเทศไทยที่ต้องเผชิญกับข้อพิพาททางการลงทุนกับการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ (RCEP)