ไทม์ไลน์ คดีคิงส์เกต เหมืองทองอัครา อะไรเกิดขึ้นบ้าง?
Post Views: 35
คดีคิงส์เกต เหมืองทองอัครา นี้ได้ดำเนินมาระยะหนึ่ง พร้อมกับความสนใจของประชาชนชาวไทยจนขึ้นอันดับ 1 เทรนด์ทวิตเตอร์ของประเทศไทยเป็นระยะ ๆ เพราะคดีนี้เป็นข้อพิพาท ที่เปิดช่องให้บริษัทต่างชาติเรียกร้องค่าเสียหายจากฝ่ายไทย ผ่าน กระบวนการอนุญาโตตุลาการ ทำให้มีการค้นหาข้อมูลรายละเอียดของ คดีคิงส์เกต กันมากขึ้น ทาง สถาบันอนุญาโตตุลาการ THAC จึงได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นทางการมาลำดับให้เข้าใจได้ดังนี้
ข่าว/บทความ ที่เกี่ยวข้อง
ไทมไลน์คดีคิงส์เกต เหมืองทองอัครา
- พฤศจิกายน 2544 บริษัทอัคราฯ ได้เริ่มทำกิจการผลิตเชิงพาณิชย์ที่เหมืองชาตรีใต้
- พฤศจิกายน 2551 บริษัทอคราฯ ได้เริ่มทำกิจการผลิตเชิงพาณิชย์ที่เหมืองชาตรีเหนือ
แหล่งที่มาจาก : ข้อมูลจาก เอกสารสรุปข้อเท็จจริง บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด ( มหาชน)
- 10 พฤษภาคม 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่ของบริษัท อัคราฯ
- 7 มิถุนายน 2559 ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 เนื่องจากเป็นการนำเสนอในรูปแบบวิดิทศน์ และไม่มีเอกสารประอกบการนำเสนอ และให้มีมติเป็น
- รับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรายงานฯ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับการดำเนินงาน ให้เป็นที่เข้าใจอย่างถูกต้อง
- ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเรื่องนี้ไปตามข้อกฎหมายและร ะเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
แหล่งที่มาจาก : https://cabinet.soc.go.th/doc_image/2559/993197635.pdf
- 13 ธันวาคม 2559 มีการออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 72/2559 […] มีเนื้อหาพอสังเขป คือ
- ระงับการต่ออายุประทานบัตรและใบอนุญาตประกอบโลหกรรมแร่ทองคำไว้จนกว่าคณะกรรมการฯ จะมีมติเป็น
- ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับประทานบัตรและใบอนุญาตต่างๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ
แหล่งที่มาจาก : ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ 289 ง ประกาศเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2559,
- 3 เมษายน 2560 บริษัท Kingsgate (ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทอัคราฯ) ได้ออกประกาศเป็น Public release ว่าได้มีหนังสือขอเข้าพบเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตาม TAFTA และแจ้งว่าหากไม่สามารถปรึกษาหารือ กันได้ ก็จำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศต่อไป
- การเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ อาศัยอำนาจตามมาตรา 917(2)(b) ของ TAFTA (ย่อมาจาก Thailand-Australia Free Trade Agreement) หรือสนธิสัญญาว่าด้วยการค้าเสรีระหว่างไทยและออสเตรเลีย ซึ่งได้ลงนามกันในพ.ศ. 2547 และมีผลใช้บังคับในปีพ.ศ. 2548
แหล่งที่มาจาก : http://www.akararesources.com/th/open/post/1272/attachment