หน้าที่และความสำคัญในบทบาทของผู้ประนีประนอม ในการประนอมข้อพิพาททางเลือก
เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น หลายๆ คนมักมีความเข้าใจแรกว่าจะต้องเลือกใช้กระบวนการทางศาลเพื่อดำเนินคดี เพื่อคลี่คลายปัญหาต่างๆ แต่การขึ้นศาลหรือเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมส่วนมักมากใช้ระยะเวลานาน ทำให้เกิดความบาดหมาง และกระทบต่อความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ ตลอดจนความลับที่อาจรั่วไหล จนทำให้บางครั้งการเลือกประนอมข้อพิพาท จึงเป็นทางออกที่ชาญฉลาดกว่า โดยเป็นการสรรหาคนกลางอย่างผู้ประนอมเข้ามาช่วยประสานความเข้าใจระหว่างคู่พิพาท ดังนั้นในบทความจะมากล่าวถึงหน้าที่และความสำคัญในบทบาทของผู้ประนีประนอม ในการประนอมข้อพิพาททางเลือก พร้อมบอกข้อดีและความสำคัญของการประนอมข้อพิพาทในด้านต่างๆ
ผู้ไกล่เกลี่ย ผู้ประนีประนอม และอนุญาโตตุลาการ คือใคร ต่างกันอย่างไร?
ผู้ประนอมข้อพิพาท คือ บุคคลกลางที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือคู่พิพาทผ่านการเจรจาพูดคุยเพื่อประสานข้อยุติร่วมกัน เป็นวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกนอกศาล โดยคนกลางที่ว่านี้จะต้องมีความเป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์หรือเกี่ยวข้องกับคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ระหว่างที่เจรจาจะต้องดำเนินการอย่างใจเย็น ซื่อสัตย์ สุจริต และปราศจากอคติ มีความรู้ความเข้าใจข้อพิพาทที่เกิดขึ้น และเข้าใจปรัชญาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอย่างถ่องแท้ โดยความแตกต่างระหว่างกัน ดังนี้
- ผู้ไกล่เกลี่ยและผู้ประนีประนอม คือ บุคคลกลางที่เข้ามาอำนวยความสะดวกให้ข้อพิพาทเหล่านั้นคลี่คลาย ผ่านการพูดคุยและเจรจาเพื่อผสานความเข้าใจระหว่างกันและร่วมหาทางออกของข้อพิพาทนั้นๆ ให้เกิดขึ้นอย่างสันติ โดยจะต้องไม่ตัดสินหรือชี้นำว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ผิด ซึ่งทั้งสองจะทำหน้าที่เหมือนกัน ต่างกันแค่ผู้ประนีประนอมจะใช้เรียกบุคคลกลางที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยในชั้นศาลเพียงเท่านั้น
- อนุญาโตตุลาการ คือ บุคคลกลางที่เข้ามาพิจารณาข้อพิพาท ซึ่งเป็นวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกนอกศาล เป็นอีกหนึ่งวิธีการ และเป็นผู้ทำการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าว ซึ่งคู่พิพาทจะต้องยอมรับคำชี้ขาดและมีภาระผูกพันที่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น
- ผู้พิพากษา คือ บุคคลที่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่พิจารณาบัญญัติคำพิพากษาคดีเข้ามาสู่ศาล กล่าวคือคู่พิพาทจะไม่สามารถเลือกบุคคลที่เข้ามาเป็นผู้พิพากษาได้ โดยจะทำการตัดสิน ตกลงไกล่เกลี่ย การประนีประนอมยอมความในศาล เพื่อให้ข้อพิพาทนั้นยุติลงอย่างเป็นธรรมผ่านคำพิพากษา
บทบาทสำคัญของผู้ประนอมในการระงับข้อพิพาท
บทบาทและหน้าที่สำคัญของผู้ประนอมข้อพิพาท คือ การเข้ามาเป็นผู้ผสานความเข้าใจ สร้างบรรยากาศในการเจรจาหาทางออก จำเป็นที่จะต้องเป็นบุคคลกลางที่ไม่มีอคติ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยจะต้องมีคุณสมบัติ เช่น มีประสบการณ์และความเข้าใจเกี่ยวกับข้อพิพาทนั้นๆ และทำการศึกษาข้อพิพาทและคู่พิพาทอย่างครบถ้วน มีทักษะและจิตวิทยาในด้านการสื่อสารอย่างดี สามารถอดทนและเก็บความลับได้ ควบคุมสถานการณ์ รวมถึงสามารถกำหนดทางเลือกสำหรับคู่พิพาทเพื่อช่วยทำให้การประนอมข้อพิพาทสำเร็จได้และสามารถที่จะทำสัญญาประนีประนอมเพื่อบันทึกข้อตกลงเหล่านั้นเป็นลายลักษณ์อักษร
กล่าวได้ว่าการเลือกผู้ประนอมที่ดีและมีคุณสมบัติครบถ้วน สามารถช่วยระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งข้อดีอย่างมาก คือ สามารถหาข้อยุติข้อพิพาทได้โดยทั้งสองฝ่ายพึงพอใจ รักษาความลับและความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ ไม่เป็นทางการเมื่อเทียบเท่ากับการอนุญาโตตุลาการหรือขึ้นศาล อีกทั้งในบางกรณีการประนอมข้อพิพาทยังใช้ระยะเวลาและเงินน้อยกว่าอีกด้วย นับเป็นทางเลือกที่ช่วยแบ่งเบาภาระศาลได้
ทำไมการประนอมข้อพิพาทถึงสำคัญ?
ในหลากหลายข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นสามารถยุติได้ผ่านการเจรจาพูดคุย โดยไม่จำเป็นที่จะต้องดำเนินการเข้าสู่กระบวนการชั้นศาล อีกทั้งการประนอมข้อพิพาทยังช่วยรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาทได้ อย่างในข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว ซึ่งเป็นเรื่องความสัมพันธ์ที่ละเอียดอ่อน เพราะบิดา มารดา และบุตรไม่สามารถตัดขาดจากกันได้โดยสิ้นเชิง การระงับข้อพิพาทควรจะต้องคำนึงถึงความสงบสุขและความสัมพันธ์ หรือในแง่เศรษฐกิจ การประนอมข้อพิพาทสามารถที่จะช่วยทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้อย่างมาก เช่น การไกล่เกลี่ยเกี่ยวกับสินเชื่อและบัตรเครดิตจากสถาบันทางการเงินหรือในงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ที่ให้เจ้าหนี้และลูกหนี้เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้ ลดส่วนเบี้ยปรับ ช่วยลดโอกาสในการเกิดหนี้เสียต่อสถาบันทางการเงินหรือการเข้าสู่การดำเนินคดีได้ หรือการประนอมข้อพิพาทสำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งการดำเนินคดีอาจใช้ทุนทรัพย์และเวลานาน รวมถึงปัญหาการเปิดเผยความลับของบริษัท ตลอดจนการทำธุรกิจระหว่างประเทศที่อาจไม่เอื้ออำนวยในการขึ้นศาลไทย การประนอมข้อพิพาททางเลือกนอกศาลนั้นในบางกรณีก็ใช้ทุนทรัพย์และเวลาเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการดำเนินคดี อีกทั้งยังสามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน การดำเนินการที่เป็นความลับ และการคัดสรรผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในข้อพิพาทหรือทางด้านภาษา ซึ่งจะช่วยให้ยุติอย่างสันติ อ่านเพิมเติม
สำหรับใครที่สนใจอยากเป็นผู้ประนอมข้อพิพาท ทาง THAC สถาบันอนุญาโตตุลาการได้มีการเปิดหลักสูตรอบรมผู้ประนอม (ภาคภาษาไทย) ซึ่งสามารถพัฒนาศักยภาพ ทักษะ และความรู้สำหรับบุคคลที่มีความสนใจ และยังเป็นการเปิดโอกาสเส้นทางการเป็นผู้ประนอมข้อพิพาทในอนาคตอีกด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่นี่
เกี่ยวกับเรา
สถาบันอนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center) หรือ THAC เป็นสถาบันฯ ที่ให้บริการด้านการอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาทในระดับสากล ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการที่มีความเป็นอิสระและมีมาตรฐานสากล ด้วยประสบการณ์และความชำนาญทางวิชาชีพ จึงทำให้มั่นใจได้ว่าผู้มาใช้บริการจะได้รับบริการที่ถูกต้องรวดเร็ว อีกทั้ง THAC ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ช่วยให้สะดวกสบายในการเดินทาง และมีอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่า ช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
อ้างอิง