สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่อนุญาโตตุลาการ
ที่ประเทศไทย THAC สามารถออกหนังสือรับรองคุณสมบัติในการทำงาน ( Work Permit) หรือ ดำเนินการขอออก Smart VISA ทำให้ชาวต่างชาติสามารถเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และลดความยุ่งยากในการจัดทำเอกสารลง
- Smart VISA
- Work Permit / VISA Non-B
- เปรียบเทียบ SMART VISA vs Work Permit / Non B
SMART VISA คืออะไร
คือ วีซ่าประเภทพิเศษที่ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อดึงดูดในบุคคลที่มีทักษะสูงและนักลงทุนที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานหรือลงทุนใน S–Curve (อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ) หรือกิจการเป้าหมายของประเทศ สามารถเข้ามาดำเนินการทำธุรกิจภายในประเทศได้ยาวนานกว่าปกติ โดยอุตสาหกรรมและกิจการเป้าหมายดังกล่าวรวมถึง “การบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution)” ที่อยู่ข้อที่ 11 ตามหมวดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ หรือ 13 S-Curve
อนุญาโตตุลาการนั้น จัดอยู่ในกลุ่มสมาร์ทวีซ่า (SMART Visa) “T” หรือผู้เชี่ยวชาญชาญทักษะสูง (Talent) ให้บริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution)
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ออกประกาศเพิ่มเติมอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือกโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ โดยกำหนดให้ผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง ที่เกี่ยวข้องกับการบริการดังกล่าวสามารถยื่นคำขอเพื่อได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ หรือ SMART VISA ได้ ซึ่งในแง่ของขอบเขตของผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง ไม่ได้จำกัดเพียงแค่อนุญาโตตุลาการเท่านั้น แนวทางของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ยังให้หมายรวมถึง ที่ปรึกษาคดีอนุญาโตตุลาการ งานว่าต่างแก้ต่างในคดี และงานสนับสนุนต่างๆ ด้วย เช่น การถอดความจากเสียง หรือ Transcriber เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
SMART VISA "T" สิทธิประโยชน์มากขึ้นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านอนุญาโตตุลาการชาวต่างชาติ
คุณสมบัติและหลักเกณฑ์
- มีเงินได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100,000 บาท/เดือน หรือเทียบเท่า แต่ในกรณีที่เป็นบุคคลซึ่งมีสัญญาจ้างโดยวิสาหกิจเริ่มต้น หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกษียณอายุแล้วซึ่งได้รับการรับรองโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมีเงินได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 50,000 บาท/เดือน
- มีสัญญาจ้างหรือสัญญาบริการกับกิจการในไทยหรือกิจการในต่างประเทศ ซึ่งกำหนดให้ทำงานในประเทศไทย ซึ่งมีระยะเวลาเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 1 ปี
- ต้องได้รับการรับรองความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยหน่วยงานในเครือข่ายของศูนย์บุคลากรทักษะสูง (Strategic Talent Center: STC)
- กิจการที่ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจะต้องได้รับการรับรองว่าอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทย โดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
- ต้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเดินทางเข้าประเทศตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และไม่มีประวัติอาชญากรรม ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้ตรวจสอบ
สิทธิประโยชน์
- ได้รับ Smart “T” โดยมีระยะเวลาไม่เกินระยะเวลาตามสัญญาจ้าง/สัญญาบริการ แต่สูงสุดครั้งละไม่เกิน 4 ปี และสามารถขยายให้ครั้งละไม่เกิน 4 ปี
- ไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงานสำหรับการทำงานในกิจการหรือหน่วยงานของรัฐที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้หลักเกณฑ์คุณสมบัติของวีซ่าประเภท Smart “T” และ ในกรณีที่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม จะต้องขอรับรองเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
- รายงานตัวทุก 1 ปี (จากเดิมทุก 90 วัน) โดยสามารถใช้บริการที่ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงานได้
สามารถเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง (Re-entry permit) - คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับสิทธิในการพำนักในประเทศไทย และการทำงานได้โดยมีระยะเวลาเท่ากับผู้ที่ได้รับสิทธิหลัก ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการทำงานต้องห้าม ตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 25๖๐ (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายจะทำงานได้นั้นจะต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
- ได้รับสิทธิ์ให้ใช้ช่องทางพิเศษ (Fast Track) ในการเข้าออกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศที่มีให้บริการช่องทางพิเศษ
ขั้นตอนการยื่นขอรับรองคุณสมบัติประกอบการขอ SMART Visa (ใช้เวลาประมาณ 30 วันทำการ)
กรณีอยู่ต่างประเทศ ยื่นที่สถานเอกอัครราชทูต/ สถานกงสุลใหญ่ ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ออกหนังสือรับรองผ่านเกณฑ์คุณสมบัติ จาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
กรณีพำนักอยู่ไทย ยื่นขอวีซ่าประเภท SMART VISA ได้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (One Stop Service Center for Visa and Work Permit: OSS) อาคารจัตุรัสจามจุรี หรือศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือสถานที่อื่นที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกำหนด
THAC Support / เอกสารประกอบการยื่นขอ Smart VISA
- แบบคำขอ SMART VISA T
- สำเนาหนังสือเดินทาง
- สัญญาจ้างหรือสัญญาบริการ หรือหลักฐานแสดงการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคดีอนุญาโตตุลาการซึ่งกำหนดให้มีการพิจารณาคดีในประเทศ
- ใบรับรองแพทย์ซึ่งออกโดยประเทศซึ่งผู้ยื่นคำขอถือสัญชาติ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวร หรือประเทศซึ่งได้ยื่นคำขอ (ต้องออกไว้ไม่เกิน 3 เดือน)
- สำเนาหลักฐานแสดงคุณสมบัติต่างๆ เช่น หลักฐานการจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย เป็นต้น* ทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการ ไม่จำเป็นต้องแนบ
- สำเนาหลักฐานการจ้างงานจากที่ทำงานก่อนหน้า เช่น สำเนาจดหมายรับรอง เป็นต้น* ทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการ ไม่จำเป็นต้องแนบ
- สำเนาโครงงานวิจัย (ถ้ามี)
- สำเนาสื่อสิ่งพิมพ์ (ถ้ามี)
- สำเนาเอกสารทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี)
- รางวัล (ถ้ามี)
- สำเนาหนังสือรับรองคุณสมบัติความเป็นผู้เชี่ยวชาญ สำเนาหนังสือรับรองความเชี่ยวชาญด้านการทำงาน (ถ้ามี) (THAC ออก)
- หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้ยื่นคำขอที่ไม่ได้ยื่นเอกสารด้วยตนเอง
* กรณีที่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะอนุญาโตตุลาการ ไม่จำเป็นต้องแนบเอกสารหมายเลข 5-6
er places specified by the Immigration Bureau Office
*ผู้ยื่นคำขอสามารถสแกนเอกสารประกอบให้อยู่ในรูปแบบ PDF File (ยกเว้นแบบคำขอ)*
FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ SMART VISA & VISA NON B
- กรณีเป็นอนุญาโตตุลาการสามารถใช้ Work Permit ฉบับเดิมได้เลย เนื่องจากไม่ได้เป็นงานที่อยู่ในประกาศงานห้ามสำหรับคนต่างด้าว
- กรณีเป็นผู้รับมอบอำนาจจากคู่พิพาท ให้พิจารณาว่า Governing Law (กฎหมายที่บังคับใช้) ในสัญญาที่พิพาทเป็นกฎหมายไทยหรือไม่ หากไม่ใช่กฎหมายไทย ท่านสามารถใช้ Work Permit เล่มเดิมได้เลย เนื่องจากไม่ได้เป็นงานที่อยู่ในประกาศงานห้ามสำหรับคนต่างด้าว แต่หากเป็นกฎหมายไทย อาจต้องขอหนังสือรับรองใหม่ เนื่องจากการขอ Work Permit ตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการนี้ ถือเป็นงานออก Work Permit ตามกฎหมายพิเศษ ซึ่งไม่อยู่ในบังคับงานห้ามของคนต่างด้าว
หากชาวต่างชาติเข้ามาเพื่อวัตถุประสงค์ในการเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญหรือพยานบุคคลเท่านั้นจะไม่ถือว่าเป็นการประกอบอาชีพในราชอาณาจักรไทย จึงไม่จำเป็นต้องขอหนังสือรับรอง หรือ ใบอนุญาตประกอบการทำงานแต่อย่างใด
ไม่ใช่ THAC ถือเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านการอนุญาโตตุลาการและมีอำนาจออกหนังสือรับรองตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 ดังนั้น เพียงแต่การดำเนินกระบวนพิจารณาเกิดขึ้นในประเทศไทย แม้ว่าจะไม่ใช่คดีที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของ THAC ก็ตาม แต่ THAC ก็ยังสามารถออกหนังสือรับรองให้ได้
การยื่นขอหนังสือรับรอง จะต้องเป็นกรณีที่มีคดีอนุญาโตตุลาการแล้วเท่านั้น เนื่องจากในหนังสือรับรอง กฎหมายกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องมีการระบุถึงหมายเลขคดีอนุญาโตตุลาการหรือรหัสข้อพิพาทที่สามารถอ้างอิงได้
THAC จะให้บริการเฉพาะในส่วนของการออกหนังสือรับรองให้เท่านั้น การประสานงาน, ติดต่อ และการยื่นขอ Visa และ Work Permit ณ กรมการจัดหางานและสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง คนต่างด้าว หรือผู้รับมอบอำนาจจากคนต่างด้าวจะต้องเป็นผู้ดำเนินการเอง
การขอหนังสือรับรองตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการ ไม่จำเป็นต้องแนบใบรับรองแพทย์ด้วย
อนุญาโตตุลาการหรือผู้รับมอบอำนาจจากคู่พิพาทซึ่งเป็นชาวต่างชาติ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
7.1 ให้ชาวต่างชาติกรอกแบบฟอร์มคำขอหนังสือรับรองประกอบการขอรับการตรวจลงตราวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non–Immigrant “B” Visa(ซึ่งกระบวนการนี้ ชาวต่างชาติควรเผื่อระยะเวลาในการประสานงานและติดต่อกับทางสถานทูตและสถานกงสุลในต่างประเทศ)
7.2 ภายหลังได้รับ VISA เรียบร้อยแล้ว ให้คนต่างด้าวหรือผู้รับมอบอำนาจจากคนต่างด้าวยื่นขอหนังสือรับรองเพื่อประกอบการขอ Work Permit จากกรมการจัดหางานโดยในขั้นนี้ให้คนต่างด้าวเตรียมสำเนา Passport, สำเนาหนังสือแต่งตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ และ/หรือสำเนาหนังสือรับมอบอำนาจ พร้อมทั้งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจหากมีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทน
7.3 ดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตการทำงานที่กรมการจัดหางาน ณ ศูนย์ให้บริการ Visa และ Work Permit ชั้น 18 จามจุรีสแควร์ โดยจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 3 ชั่วโมง (ขั้นตอนนี้คนต่างด้าวสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนได้ แต่ยังคงต้องไปลงนามรับเล่มจริงด้วยตนเอง) สำหรับเอกสารที่ต้องยื่นประกอบการขอ Work Permit ประกอบด้วยเอกสารดังต่อไปนี้
7.3.1 หนังสือรับรองจาก ที เอช เอ ซี
7.3.2 หนังสือแจ้งผลการออกหนังสือรับรองจากที เอช เอ ซี
7.3.3 แบบบต 38 หรือ แบบรายการข้อมูลและเอกสารหรือหลักฐานประกอบหนังสือแจ้งการทำงานตามมาตรา 62 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
7.3.4 สำเนาหนังสือเดินทาง
7.3.5 สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักร
7.3.6 สำเนาเอกสารคดีหมายเลขข้อพิพาท
7.3.7 รูปถ่ายของคนต่างด้าว ขนาด 3*4 ซม. จำนวน 3 รูป
ขอบเขตของหนังสือรับรองตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการ สามารถออกให้ได้เพียงอนุญาโตตุลาการและชาวต่างชาติเท่านั้น หากทนายความจะขอหนังสือรับรองดังกล่าวต้องเข้ามาในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากตัวความ
- ขอ Non-Immigration “B” Visa สำหรับธุรกิจและทำงาน ที่สถานกงสุลหรือสถานทูตในต่างประเทศ ขั้นตอนนี้ควรสำรองเวลาเอาไว้อย่างน้อย 1 เดือนล่วงหน้าก่อนวันกำหนดนัดพิจารณา หรือ
- ขอ Tourist Visa ที่สถานกงสุลหรือสถานทูตในต่างประเทศ และ เปลี่ยนประเภทเป็น Non “B” Visa ในภายหลัง (ชาวต่างชาติต้องปรากฏตัวต่อเจ้าหน้าที่ ขณะที่ยื่น application ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ 1 ครั้ง) (การขอ Tourist Visa on Arrival/Transit ไม่สามารถเปลี่ยนประเภท เป็น Non “B” Visa ได้)
**เจ้าหน้าที่ควรแนะนำให้ออก Visa ประเภท Non-Immigrant B Visa เนื่องจากการขอเปลี่ยนประเภทของ Visa ในประเทศไทย จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากกว่า และปัจจุบันนี้ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองยังไม่มีการตราหลักเกณฑ์ที่แน่นอนออกมา**
- ต้องไปลงลายมือชื่อรับใบอนุญาตทำงานฉบับจริงด้วยตนเอง ณ One Start One Stop Investment Center (OSOS) ชั้นที่ 18 ตึกจามจุรีสแควร์
Ready to get started?
บทความที่เกี่ยวข้อง
SMART Visa – สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุญาโตตุลาการชาวต่างชาติ
วิธีออกหนังสือรับรองตามกฎหมายอนุญาโตตุลาการฉบับใหม่
สมาร์ทวีซ่า เงื่อนไขและขั้นตอนในการจะเข้ามาทำอนุญาโตตุลาการในไทย
สมาร์ทวีซ่า SMART Visa คืออะไร? อนุญาโตตุลาการ สามารถขอได้หรือไม่
Work Permit / Non B คืออะไร
ใบอนุญาตทำงานหรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในชื่อ Work Permit นั้น คือใบอนุญาตให้ทำงานที่ประเทศไทย ออกให้ให้แก่ชาวต่างชาติที่มีความต้องการทำงานในไทย ทั้งบุคคลที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจในไทยหรือแม้แต่เข้ามาเป็นลูกจ้างในประเทศไทย ก็ต้องทำเรื่องยื่นเพื่อขอเปลี่ยนแปลงประเภทการลงตราตามกฎหมายของราชอาณาจักรไทย ให้เป็น NON-IMMIGRANT VISA “B” หรือ (Visa Non-B) หรือวีซ่าธุรกิจ เพราะหากไม่เปลี่ยนแปลงวีซ่า ให้เป็นวีซ่าธุรกิจแล้ว ก็จะไม่สามารถทำงานในราชอาณาจักรไทยได้
Work Permit หรือ ใบอนุญาตทำงาน คือ / Visa Non-B หรือ วีซ่าธุรกิจ คือ
- Work Permit หรือ ใบอนุญาตทำงาน คือ ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทยที่จะออกให้แก่ต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย ออกโดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
- Visa Non-B หรือ วีซ่าธุรกิจ คือ ใบอนุญาตเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพื่อทำงาน ออกโดยสถานกงสุลไทย กระทรวงต่างประเทศ หรือ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
โดยอายุการใช้งานของ ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) และ วีซ่าธุรกิจ (Visa Non-B) จะอยู่ที่ 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี และ 2 ปี (สูงสุด) ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกรมการจัดหางาน สำหรับ Work Permit และสำนักงานตรวจหาคนเข้าเมือง สำหรับ Visa โดยพิจารณาจากความจำเป็นหลายๆส่วน เช่น ประเภทงานที่ทำ ความจำเป็นในการทำงาน เป็นต้น
ขั้นตอนการยื่นเอกสารประกอบการขอออกหนังสือรับรองกับ THAC
ขั้นตอนที่ 1 : อนุญาโตตุลาการหรือผู้รับมอบอำนาจต่างด้าว ยื่นแบบคำขอหนังสือรับรอง พร้อมแนบ
(1) สำเนาหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว
(2) สำเนาหลักฐานแสดงการตั้งให้เป็นอนุญาโตตุลาการ หรือผู้รับมอบอำนาจ
(3) หนังสือมอบอำนาจ พร้อมอากรแสตมป์ กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
ขั้นตอนที่ 2 :
เอกสารครบถ้วน ที เอช เอ ซี ออกหนังสือรับรองภายใน 1 วันทำการ
ขั้นตอนที่ 3 :
คนต่างด้าวได้รับหนังสือรับรองแล้ว ต้องไปยื่นขอใบอนุญาตทำงานที่กรมการจัดหำงาน
กระทรวงแรงงาน โดยแนบเอกสาร ดังนี้*
(1) หนังสือรับรองจากที เอช เอ ซี
(2) หนังสือแจ้งผลการออกหนังสือรับรองจาก ที เอช เอ ซี
(3) แบบรายละเอียดประกอบหนังสือแจ้งการอนุญาตตาม ม. 12 พรบ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551
(4) สำเนาหนังสือเดินทาง
(5) สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้เข้ามาทำงานในไทยตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
(6) สำเนาเอกสารคดีหมายเลขข้อพิพาท
(7) รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 3*4 ซม. จำนวน 3 รูป
(8) หนังสือมอบอำนาจ พร้อมติดอากรแสตมป์ (กรณีที่ไม่ได้ยื่นด้วยตนเอง)
*บัญชีเอกสารอ้างอิงจากหนังสือกรมการจัดหางาน ด่วนที่สุด ที่ รง ๐๓๐๓/๖๐๖๘๕ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
แบบฟอร์มเอกสารของ THAC
- แบบคำขอหนังสือรับรอง สำหรับชาวต่าวชาติที่จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในกระบวนการ
อนุญาโตตุลาการในประเทศไทย (คลิกดาวน์โหลด) - ชุดตัวอย่างที่จะได้รับจาก THAC
- หนังสือแจ้งผลการพิจารณา (คลิกดูตัวอย่าง)
- หนังสือขอรับการตรวจลงตราวีซ่า (คลิกดูตัวอย่าง)
- หนังสือรับรอง (คลิกดาวน์โหลด)
- รายละเอียดประกอบหนังสือแจ้งการอนุญาตตาม ม. 12 พรบ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 (คลิกดาวน์โหลด)
อาชีพ และวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวประกอบอาชีพ
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความใน (39) ของบัญชีแนบท้ายพระราชกฤษฏีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(39) งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคดี ยกเว้น
(ก) งานปฏิบัติหน้าที่อนุญาโตตุลาการ
(ข) งานว่าต่างแก้ต่างในชั้นอนุญาโตตุลาการ ถ้ากฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่ข้อพิพาทที่พิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการนั้นมิใช่กฎหมายไทย หรือเป็นกรณีที่ไม่ต้องขอบังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นในราชอาณาจักรไทย”
FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Work Permit / Non B
- กรณีเป็นอนุญาโตตุลาการสามารถใช้ Work Permit ฉบับเดิมได้เลย เนื่องจากไม่ได้เป็นงานที่อยู่ในประกาศงานห้ามสำหรับคนต่างด้าว
- กรณีเป็นผู้รับมอบอำนาจจากคู่พิพาท ให้พิจารณาว่า Governing Law (กฎหมายที่บังคับใช้) ในสัญญาที่พิพาทเป็นกฎหมายไทยหรือไม่ หากไม่ใช่กฎหมายไทย ท่านสามารถใช้ Work Permit เล่มเดิมได้เลย เนื่องจากไม่ได้เป็นงานที่อยู่ในประกาศงานห้ามสำหรับคนต่างด้าว แต่หากเป็นกฎหมายไทย อาจต้องขอหนังสือรับรองใหม่ เนื่องจากการขอ Work Permit ตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการนี้ ถือเป็นงานออก Work Permit ตามกฎหมายพิเศษ ซึ่งไม่อยู่ในบังคับงานห้ามของคนต่างด้าว
หากชาวต่างชาติเข้ามาเพื่อวัตถุประสงค์ในการเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญหรือพยานบุคคลเท่านั้นจะไม่ถือว่าเป็นการประกอบอาชีพในราชอาณาจักรไทย จึงไม่จำเป็นต้องขอหนังสือรับรอง หรือ ใบอนุญาตประกอบการทำงานแต่อย่างใด
ไม่ใช่ THAC ถือเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านการอนุญาโตตุลาการและมีอำนาจออกหนังสือรับรองตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 ดังนั้น เพียงแต่การดำเนินกระบวนพิจารณาเกิดขึ้นในประเทศไทย แม้ว่าจะไม่ใช่คดีที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของ THAC ก็ตาม แต่ THAC ก็ยังสามารถออกหนังสือรับรองให้ได้
การยื่นขอหนังสือรับรอง จะต้องเป็นกรณีที่มีคดีอนุญาโตตุลาการแล้วเท่านั้น เนื่องจากในหนังสือรับรอง กฎหมายกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องมีการระบุถึงหมายเลขคดีอนุญาโตตุลาการหรือรหัสข้อพิพาทที่สามารถอ้างอิงได้
THAC จะให้บริการเฉพาะในส่วนของการออกหนังสือรับรองให้เท่านั้น การประสานงาน, ติดต่อ และการยื่นขอ Visa และ Work Permit ณ กรมการจัดหางานและสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง คนต่างด้าว หรือผู้รับมอบอำนาจจากคนต่างด้าวจะต้องเป็นผู้ดำเนินการเอง
การขอหนังสือรับรองตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการ ไม่จำเป็นต้องแนบใบรับรองแพทย์ด้วย
อนุญาโตตุลาการหรือผู้รับมอบอำนาจจากคู่พิพาทซึ่งเป็นชาวต่างชาติ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
7.1 ให้ชาวต่างชาติกรอกแบบฟอร์มคำขอหนังสือรับรองประกอบการขอรับการตรวจลงตราวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non–Immigrant “B” Visa(ซึ่งกระบวนการนี้ ชาวต่างชาติควรเผื่อระยะเวลาในการประสานงานและติดต่อกับทางสถานทูตและสถานกงสุลในต่างประเทศ)
7.2 ภายหลังได้รับ VISA เรียบร้อยแล้ว ให้คนต่างด้าวหรือผู้รับมอบอำนาจจากคนต่างด้าวยื่นขอหนังสือรับรองเพื่อประกอบการขอ Work Permit จากกรมการจัดหางานโดยในขั้นนี้ให้คนต่างด้าวเตรียมสำเนา Passport, สำเนาหนังสือแต่งตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ และ/หรือสำเนาหนังสือรับมอบอำนาจ พร้อมทั้งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจหากมีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทน
7.3 ดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตการทำงานที่กรมการจัดหางาน ณ ศูนย์ให้บริการ Visa และ Work Permit ชั้น 18 จามจุรีสแควร์ โดยจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 3 ชั่วโมง (ขั้นตอนนี้คนต่างด้าวสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนได้ แต่ยังคงต้องไปลงนามรับเล่มจริงด้วยตนเอง) สำหรับเอกสารที่ต้องยื่นประกอบการขอ Work Permit ประกอบด้วยเอกสารดังต่อไปนี้
7.3.1 หนังสือรับรองจาก ที เอช เอ ซี
7.3.2 หนังสือแจ้งผลการออกหนังสือรับรองจากที เอช เอ ซี
7.3.3 แบบบต 38 หรือ แบบรายการข้อมูลและเอกสารหรือหลักฐานประกอบหนังสือแจ้งการทำงานตามมาตรา 62 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
7.3.4 สำเนาหนังสือเดินทาง
7.3.5 สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักร
7.3.6 สำเนาเอกสารคดีหมายเลขข้อพิพาท
7.3.7 รูปถ่ายของคนต่างด้าว ขนาด 3*4 ซม. จำนวน 3 รูป
ขอบเขตของหนังสือรับรองตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการ สามารถออกให้ได้เพียงอนุญาโตตุลาการและชาวต่างชาติเท่านั้น หากทนายความจะขอหนังสือรับรองดังกล่าวต้องเข้ามาในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากตัวความ
- ขอ Non-Immigration “B” Visa สำหรับธุรกิจและทำงาน ที่สถานกงสุลหรือสถานทูตในต่างประเทศ ขั้นตอนนี้ควรสำรองเวลาเอาไว้อย่างน้อย 1 เดือนล่วงหน้าก่อนวันกำหนดนัดพิจารณา หรือ
- ขอ Tourist Visa ที่สถานกงสุลหรือสถานทูตในต่างประเทศ และ เปลี่ยนประเภทเป็น Non “B” Visa ในภายหลัง (ชาวต่างชาติต้องปรากฏตัวต่อเจ้าหน้าที่ ขณะที่ยื่น application ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ 1 ครั้ง) (การขอ Tourist Visa on Arrival/Transit ไม่สามารถเปลี่ยนประเภท เป็น Non “B” Visa ได้)
**เจ้าหน้าที่ควรแนะนำให้ออก Visa ประเภท Non-Immigrant B Visa เนื่องจากการขอเปลี่ยนประเภทของ Visa ในประเทศไทย จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากกว่า และปัจจุบันนี้ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองยังไม่มีการตราหลักเกณฑ์ที่แน่นอนออกมา**
- ต้องไปลงลายมือชื่อรับใบอนุญาตทำงานฉบับจริงด้วยตนเอง ณ One Start One Stop Investment Center (OSOS) ชั้นที่ 18 ตึกจามจุรีสแควร์