เจาะประเด็น “ทะเลจีน” ข้อพิพาทระหว่างประเทศในปัจจุบัน
ข้อพิพาทระหว่างประเทศในปัจจุบันถือเป็นเรื่องที่ส่งกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมาก และยังถือเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความอ่อนไหวสูง โดยหนึ่งในข้อพิพาทระหว่างประเทศที่เป็นประเด็นที่น่าจับตามอง หนีไม่พ้นข้อพิพาทความขัดแย้งของทะเลจีนใต้ ซึ่งในบทความนี้ THAC จะพาผู้อ่านทุกคนมาเจาะประเด็นดูว่าข้อพิพาทนี้มีชนวนเกิดจากอะไร
ข้อพิพาทระหว่างประเทศ
ข้อพิพาทหมายถึงประเด็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและไม่สามารถหาข้อยุติได้ ซึ่งข้อพิพาททั่วไปและข้อพิพาทระหว่างประเทศนั่นก็มีความหมายเหมือนกัน แต่ความแตกต่างคือ ข้อพิพาทระหว่างประเทศ คู่พิพาทจะต้องเกิดขึ้นระหว่าง 2 ประเทศร่วมกันเท่านั้น สามารถเป็นได้เป็นได้ทั้งระหว่างรัฐกับรัฐ รัฐกับเอกชน เอกชนกับเอกชน รวมถึงระหว่างประชาชน กลุ่มชน ภูมิภาค องค์การระหว่างประเทศ และประชาคมโลกที่มีความขัดแย้งขึ้น โดยวิธีการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศจะมีรายละเอียดที่มากกว่า เพราะมีหลายประเด็นที่ต้องใส่ใจ ทั้งเรื่องเชื้อชาติ สัญชาติ ภาษา ศาสนา ค่านิยม และความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้อาจเกิดข้อขัดแย้งง่าย ซึ่งสามารถแบ่งการระงับข้อพิพาทได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศด้วยการใช้กำลังและการระงับข้อพิพาทโดยสันติ
การระงับข้อพิพาทโดยสันติถือเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งการเจรจาทางการทูตเป็นวิธีการที่ภาครัฐใช้เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย แต่วิธีการนี้จะไม่มีผลทางกฎหมาย เป็นเพียงการตกลงเพื่อหาความต้องการร่วมกันและรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันในระยะยาว นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกอย่างการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การประนีประนอม และการสืบสวนหาข้อเท็จจริง ในกรณีที่ไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกันได้ อาจมีการใช้การระงับข้อพิพาททางศาลขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกัน
หน่วยงานที่ระงับข้อพิพาท
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศนั้นจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงต่างๆ ที่รัฐได้ทำสนธิสัญญา เพราะบางกรณีอาจมีการระบุวิธีการระงับข้อพิพาทและหน่วยงานที่จะช่วยยุติข้อพิพาทชัดเจน เช่น เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นและเจรจาไม่ได้ผล จะนำเรื่องการเจรจาขึ้นสู่ศาลระหว่างประเทศ นอกจากนี้ หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่
- การไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศจะมี 2 ลักษณะ คือ การจัดตั้งรัฐที่สามหรือบุคคลที่สามขึ้นมาเพื่อติดต่อให้รัฐคู่พิพาทเจรจากันเอง และกรณีที่รัฐที่สามหรือหลายรัฐรวมกันเป็นผู้ติดต่อ ร่วมเจรจา และเสนอแนวทางข้อตกลงเพื่อยุติข้อพิพาท ซึ่งในกรณีรัฐคู่พิพาทสามารถรับข้อเสนอหรือไม่ก็ได้ ยกเว้นจะมีการกำหนดไว้ในสนธิสัญญาชัดเจน
- การไต่สวนจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนระหว่างประเทศเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงประกอบด้วยสมาชิก 5 คน คือ ได้รับเลือกฝ่ายละ 2 คน แต่จะมีบุคคลสัญชาติเดียวกันได้เพียง 1 คนและคนสุดท้ายที่เป็นประธานจะต้องไม่ใช่คนสัญชาติของคู่กรณี องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ
- การประนีประนอมจะมีคณะกรรมการประนีประนอมประกอบด้วยกรรมการ 3 – 5 คนที่เป็นกรรมการประจำ ซึ่งจะทำหน้าที่พิจารณาแสวงหาข้อเท็จจริงพร้อมเสนอหนทางยุติข้อพิพาท หากไม่เป็นผลจะนำคดีสู่ศาลอนุญาโตตุลาการหรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
- การอนุญาโตตุลาการจะทำขึ้นโดยผู้พิพากษา 5 คนตั้งขึ้นเฉพาะกิจ
- การนำคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลระหว่างประเทศอื่นๆ ที่มีเขตอำนาจเฉพาะเรื่อง
หลังจากที่ได้รู้แล้วว่าข้อพิพาทระหว่างประเทศคืออะไร วิธีการระงับข้อพิพาท และหน่วยงานที่ดูแลจัดการในด้านเหล่านี้ ซึ่งหนึ่งในข้อพิพาทระหว่างประเทศในปัจจุบันที่เราจะพามาดู คือ ข้อพิพาททะเลจีนใต้ ซึ่งมีหลากหลายประเทศที่อ้างกรรมสิทธิ์ในการครอบครองพื้นที่ทะเลจีนใต้
ชนวนความขัดแย้งของทะเลจีนใต้
ทะเลจีนใต้ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอย่างน้ำมันและแก๊สธรรมชาติสำรองขนาดใหญ่ และเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเลที่สำคัญในภูมิภาค โดยทะเลจีนใต้เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกมีพื้นที่มากกว่า 3.5 ล้านตารางกิโลเมตร คาบเกี่ยวกับหลายประเทศ คาบสมุทร และอ่าว ซึ่งหากว่าตามหลักเกณฑ์ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเลกำหนดไว้ว่าพื้นที่ของทะเลจีนใต้จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศต่างๆ ตามการแบ่งเขตเศรษฐกิจที่ให้พื้นที่ทำประมงไม่เกิน 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่งของประเทศนั้นๆ แต่จีนได้อ้างกรรมสิทธิ์ในการครอบครองพื้นที่ 90% ของทะเลจีนใต้ด้วยพื้นที่เส้นเก้าแดช (nine-dash line) ทำให้เกิดข้อพิพาทในการอ้างสิทธิเหนือเกาะและทะเลในหลายรัฐ ทั้งกับประเทศบรูไน จีน ไต้หวัน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดยแต่ละประเทศอาจมีประเด็นข้อพิพาทเฉพาะที่แตกต่างกัน เพราะการที่จีนได้ลากครอบคลุมน่านน้ำในทะเลแห่งนี้ไกลจากแผ่นดินใหญ่ออกไปถึง 2,000 กิโลเมตร กระทั่งล้ำเข้าไปในน่านน้ำของฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และเวียดนาม ราว 200-300 กิโลเมตร ในขณะที่เวียดนามและฟิลิปปินส์ต่างอ้างสิทธิในการปกครองหมู่เกาะสแปรดลีย์ ซึ่งจีนก็ได้มีความพยายามในการอ้างกรรมสิทธิ์ในส่วนนี้ ทั้งการสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ บนเกาะธรรมชาติและเกาะเทียมในบริเวณหมู่เกาะนี้ พร้อมการห้ามเรือประมงชาติอื่นเข้าไป ภายหลังฟิลิปปินส์ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอนุญาโตตุลาการถาวรกรุงเฮกแต่ฝ่ายเดียว และมีผลชนะไป
อย่างไรก็ตาม จีนมีท่าทีที่ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินดังกล่าว และศาลไม่สามารถบังคับให้จีนดำเนินการตามคำตัดสิน ทำให้ทั้งสองฝ่ายหันหน้ามาใช้การเจรจาทางการทูตเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ นอกจากนี้สหรัฐอเมริกาก็ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรของฟิลิปปินส์ เพื่อการคานอำนาจจีน ซึ่งสหรัฐฯ และจีนเองก็ได้ซ้อมรบในพื้นที่พิพาททะเลจีนใต้บ่อยขึ้น ทำให้ทะเลจีนใต้กลายเป็นพื้นที่ที่เปราะบางอย่างมาก
ข้อพิพาทระหว่างประเทศนี้ แม้ไทยจะไม่ได้อยู่ในบริเวณนั้นโดยตรงแต่ก็ได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะการเข้าไปใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติในทะเลจีนใต้ เพราะประเทศคู่พิพาทมีนโยบายไม่อนุญาตให้เรือประมงต่างชาติเข้าไปทำประมงในเขตน่านน้ำนี้ ส่งผลต่อต้นทุนภาคเอกชนประมงและเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก สุดท้ายนี้ สถานการณ์ความตึงเครียดของทะเลจีนใต้ก็มีความตึงเครียดอย่างยิ่ง เพราะไม่ได้มีเฉพาะแค่ประเทศคู่พิพาทแล้ว แต่ยังมีประเด็นการคานอำนาจระหว่างมหาอำนาจทั้งสองอีกด้วย
เกี่ยวกับเรา
สถาบันอนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center) หรือ THAC เป็นสถาบันฯ ที่ให้บริการด้านการอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาทในระดับสากล ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการที่มีความเป็นอิสระและมีมาตรฐานสากล ด้วยประสบการณ์และความชำนาญทางวิชาชีพ จึงทำให้มั่นใจได้ว่าผู้มาใช้บริการจะได้รับบริการที่ถูกต้องรวดเร็ว อีกทั้ง THAC ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ช่วยให้สะดวกสบายในการเดินทาง และมีอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่า ช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
สนใจติดต่อ THAC ได้ที่ อีเมล [email protected] หรือ โทร +66(0)2018 1615