การพิจารณาคดีเสมือนจริงหลังการระบาดของ COVID-19
การอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศนั้นมีลักษณะข้ามพรมแดน ซึ่งคู่พิพาท ที่ปรึกษากฎหมาย หรือบรรดาผู้เชี่ยวชาญนั้นอาจต้องเดินทาง ซึ่งอนุญาโตตุลาการอาวุโสส่วนมากนั้นถือสถานะ Gold Card หรือ”บัตรทอง” ของสายการบิน ห้องรับรอง และโรงแรมดังต่าง ๆ ทั่วโลก ห้องรับรองชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจที่สนามบินฮีทโธรว์ในลอนดอนเป็นหนึ่งในจุดสำคัญสำหรับ ‘เครือข่าย’ อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ในขณะที่การเคลื่อนไหวเช่น ‘Green Pledge’ (ปัจจุบันคือ Campaign for Greener Arbitrations) ได้เน้นย้ำถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการเดินทางที่หลีกเลี่ยงได้ ซึ่งโดยปกติแล้ว การดำเนินกระบวนพิจารณาแบบ “ตัวต่อตัว” นั้นเป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติโดยทั่วไปในการอนุญาโตตุลาการ ซึ่งมักจะจัดขึ้นในเมืองหรือประเทศที่เป็นสถานที่นั่งพิจารณาซึ่งได้รับเลือกแล้วว่ามีความเป็นกลางและมีประสิทธิภาพ ซึ่งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหล่านั้นสูงอย่างน่าประหลาดใจ
และถึงแม้ว่าการประชุมโดยวิดิโอคอลนั้นมีมาเป็นระยะเวลานานแล้ว เช่นระบบ FaceTime ของ Apple ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2010 แต่การอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศส่วนใหญ่นั้นก็จำกัดการพิจารณาคดีโดยวิดิโอคอลนี้ไว้ในกรณีที่สถานการณ์ที่พยานไม่สามารถเข้าร่วมด้วยตนเองได้ หรือในกรณีที่ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและความไม่สะดวกในการเดินทางซึ่งจะถือว่าการใช้การประชุมทางวิดีโอเป็นที่ยอมรับได้ซึ่งทางปฏิบัตินั้นแตกต่างกันไปตามแต่สถาบันอนุญาโตตุลาการแต่ละที่ ซึ่งในส่วนของการสืบพยานนั้นเรียกได้ว่านำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้น้อยที่สุด เนื่องจากการสืบพยานนั้นเป็น “สิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด” ในการพิจารณาตดีเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม การระบาดของ COVID-19 นั้นทำให้ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงไป ผลกระทบจากการระบาดของCOVID-19 นั้นมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการ lockdown และการปิดพรมแดนระหว่างประเทศ ซึ่งหลังจากการเกิดการระบาดของ COVID-19 นั้นพนักงานหลายสิบล้านคนทำงานจากที่บ้าน โดยใช้เทคโนโลยีการทำงานระยะไกลอย่างกว้างขวาง เครื่องมือหลักที่ใช้คือเครื่องมือการประชุมทางวิดีโอ เช่น Zoom, Google Hangouts, GoToMeeting, Microsoft Teams และ BlueJeans ซึ่งผลกระทบในเชิงบวกของ COVID-19 นี้ทำให้ราคาหุ้นของ Zoom ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 68.8 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงต้นปี 2020 แต่เพิ่มขึ้นเป็น 166.75 ดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2020
ผลกระทบเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นกระบวนการอนุญาโตตุลาการจึงปรับตัวด้วยการใช้ระบบการประชุมทางวิดิโออย่างกว้างขวางมากขึ้น รวมไปถึงกระบวนการพิจารณาคดีเสมือนจริง (Virtual Hearing) การพิจารณาคดีแบบออนไลน์ รวมไปถึงการพิจารณาคดีแบบ Hybrid และสถาบันนอนุญาโตตุลาการหลายแห่งได้เปลี่ยนแปลงกฎระเบียบเพื่อรองรับผลกระทบเหล่านี้ แต่อย่างไรก็ดีคู่พิพาทบางรายก็เลือกที่จะร้องขอให้มีการเลื่อนการพิจารณาออกไปก่อนจนกว่าข้อจำกัดเรื่องการเดินทางเหล่านี้จะจบลง
ผลกระทบร้ายแรงต่อสังคมและเศรษฐกิจของ COVID-19 นั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตัวแบบ New normal นี้มีผลทางบวกในเรื่องของการประหยัดต้นทุนและประสิทธิภาพ และศักยภาพในการทำให้อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเข้าถึงได้ง่ายขึ้นสำหรับผู้ที่ไม่มีทรัพยากรที่จะมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม
ทั้งนี้ในประเทศอังกฤษนั้น การพิจารณาคดีกว่า 85% ต่อศาลธุรกิจและทรัพย์สินแห่งอังกฤษ (English Business and Property Courts) นั้นใช้วิธีการพิจารณาคดีเสมือนจริง (Virtual Hearing) ในช่วงล็อกดาวน์ทั่วประเทศครั้งแรกของสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ทุกอย่างกลับสู่สภาพปกติแล้ว การระงับข้อพิพาทและการบริหารงานยุติธรรมนั้นจะกลับไปสู่วิธี “ตัวต่อตัว” แบบที่เคยปฏิบัติกันมาหรือไม่
ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้อง
จากรายงานของ Baker McKenzie ร่วมกับ KPMG[1] นั้นได้ระบุว่า จากการทำแบบสอบถามนั้น ผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม 70% นั้นได้ระบุว่าประสบการณ์ในการพิจารณาคดีเสมือนจริงนั้นเป็นไปในทางที่ดี มีเพียงมีเพียง 5.8% เท่านั้นที่ไม่พอใจหรือไม่พอใจมาก ทั้งนี้ 70.7% ของผู้ตอบแบบสอบถามรายงานว่าพวกเขาเข้าร่วมในการพิจารณาเสมือนตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของ COVID-19 ในขณะที่มีเพียง 44% เท่านั้นที่มีประสบการณ์ดังกล่าวในยุคก่อนโควิด อีกทั้งความคุ้มค่าและประสิทธิผลถือเป็นประโยชน์หลักของการพิจารณาคดีแบบเสมือนจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีพิพาทที่เกี่ยวพันกับหลายเขตอำนาจศาล เนื่องจากที่ปรึกษา คู่พิพาท ผู้เชี่ยวชาญ และพยานไม่จำเป็นต้องเดินทางอีกต่อไป อีกทั้ง75% ของผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่าการพิจารณาเสมือนจริงนั้นมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการพิจารณาคดีแบบปกติอีกด้วย
ผู้ตอบแบบสอบถามถึง 70% นั้นเห็นว่าการพิจารณาคดีเสมือนจริงนั้นเป็นประโยชน์มากในการยื่นคำร้องชั่วคราว (Interim Application) และ 65% มองว่าการพิจารณาคดีที่มีระเวลาน้อยกว่าหนึ่งวันซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคณะลูกขุนหรือการสอบปากคำ/ถามค้าน (Cross-Examination) นั้นควรใช้การพิจารณาคดีเสมือนจริง
55% ของผู้ตอบแบบถามนั้นชื่นชอบ “การพิจารณาคดีแบบผสมผสาน” (Hybrid Hearings) ซึ่งผู้เกี่ยวข้องบางคนอยู่ในศาลหรือห้องพิจารณาคดี และคนอื่น ๆ เข้าร่วมผ่านวิดีโอ/การประชุมทางไกล แนวคิดของการพิจารณาแบบผสมผสานไม่ใช่เรื่องใหม่ทั้งหมด การสอบปากคำหรือถามค้านพยานหรือผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในเขตอำนาจศาลอื่นโดยนั้นพบได้บ่อยในข้อพิพาททางแพ่งในศาลอังกฤษตั้งแต่ช่วงก่อนการระบาดของ COVID-19 แต่การระบาดครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การพิจารณาคดีแบบผสมผสานนี้ยังสามารถใช้กับกระบวนพิจารณาอื่นได้อีก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการพิจารณาคดีแบบผสมผสานนี้จะเป็นที่ได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นการอนุญาตให้มีการยื่นคำร้องและมีการสอบปากคำพยานตัวต่อตัวในขณะที่ผู้เกี่ยวข้องซึ่งติดธุระนั้นสามารถเข้าร่วมกระบวนการพิจารณาคดีจากระยะไกลได้ตามความเหมาะสม แต่ยังมีปัญหาในเรื่องของความเหมาะสมในเรื่องของการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในกรณีของการไกล่เกลี่ย (Mediation) นั้นผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ (~65%) จะชอบการไกล่เกลี่ยแบบตัวต่อตัวมากกว่าการไกล่เกลี่ยเสมือนจริง (virtual mediation) แม้ว่าผู้ตอบแบบสำรวจประมาณครึ่งหนึ่งเชื่อว่าการไกล่เกลี่ยออนไลน์นั้นคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อเทียบกับการไกล่เกลี่ยแบบตัวต่อตัว แต่ข้อแตกต่างสำคัญประการหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ การไกล่เกลี่ยเป็นกระบวนการสมัครใจ ทั้งสองฝ่ายจะต้องเห็นด้วยกับการไกล่เกลี่ยเสมือนจริงเพื่อให้เกิดขึ้น ในขณะที่สิ่งนี้จะไม่เป็นกรณีของการพิจารณาคดีเสมือนจริง ซึ่งศาลหรือคณะตุลาการมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าจะจัดการอย่างไร
ทั้งนี้ การพิจารณาคดีเสมือนจริงนั้นก็มีข้อจำกัดในความเชื่อของหลัก common law ว่า ไม่มีสิ่งใดที่สามารถทดแทนการสืบพยานทางกายภาพและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในความจริงของคำให้การที่ถูกกล่าวหา ส่งผลให้การใช้การประชุมทางวิดีโอถูกจำกัดในสถานการณ์ที่มีเงื่อนไขเฉพาะเท่านั้น และยังมีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยวกับความสำคัญของความสามารถในการประเมินพฤติกรรมของพยานโดยต้องเข้ารับการรักษาทางกายภาพ ใน Hanaro Shipping v. Cofftea Trading [2015] EWHC 4293 (Comm) ศาลสูงแห่งอังกฤษและเวลส์ปฏิเสธข้อโต้แย้งว่ามีความไม่สมดุลในกระบวนการซักพยานของฝ่ายหนึ่งที่ให้การเป็นพยานด้วยตนเอง ในขณะที่พยานของคู่สัญญาให้การพิสูจน์โดยการประชุมทางวิดีโอเท่านั้น
ในทางกลับกัน Jiangsu Shagang Group Co Ltd กับ Loki Owning Company Ltd [2018] EWHC 330 (Comm) ศาลได้มีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดค่าเสียหาย 68 ล้านเหรียญสหรัฐโดยสังเกตว่าศาลไม่ได้ประเมินความน่าเชื่อถือของหนึ่งพยานคนสำคัญรายหนึ่งอย่างเหมาะสม โดยที่พยานคนนั้นไม่ได้พูดภาษาอังกฤษและให้หลักฐานโดยลิงก์วิดีโอที่ไม่น่าเชื่อถือซึ่งอาจทำให้ศาลสรุปถึงความน่าเชื่อถือของพยาน กรณีนี้เน้นย้ำถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเมื่อมีการใช้เทคโนโลยีการประชุมทางวิดีโอนั้นจะต้องการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของคุณภาพของวิดิโอนั้นด้วย
ความล่าช้าในการเชื่อมต่อสัญญาณและปัญหาด้านคุณภาพเสียงก็อาจทำให้เกิดปัญหาในกระบวนการพิจารณาได้เช่นเดียวกัน เช่นเดียวกกับการใช้ล่ามหรือการแปลพร้อมกัน ซึ่งอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่ปะติดปะต่อกัน จนถึงขนาดใช้ไม่ได้ ซึ่งก็เป็นข้อที่ควรให้ความสำคัญสำหรับการพิจารณาคดีเสมือนจริงเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม อ้างอิงจากแบบสำรวจของ Baker McKenzie ร่วมกับ KPMG นั้น หากจะมีการใช้การพิจารณาคดีเสมือนจริงนี้อย่างแพร่หลาย ก็มี่ความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงกฎเกณฑ์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องขอแพลตฟอร์มที่จะใช้ในการพิจารณา การส่งเอกสารเอกสาร ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการพิจารณาว่าการไต่สวนเสมือนจริงจำเป็นหรือเหมาะสม และการเข้าถึงของสาธารณะ
ดังนั้น การเลือกการเลือกแพลตฟอร์มสำหรับการรับฟังทางออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญ สถาบันบางแห่งเสนอแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ปรับแต่งได้ (customised online platforms) เช่น หอการค้าสตอกโฮล์ม (Stockholm Chamber of Commerce), ศูนย์อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ (the International Arbitration Centre) และศูนย์ระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ (International Dispute Resolution Centre) แพลตฟอร์มการประชุมทางวิดีโออื่น ๆ เช่น Skype, WebEx, GoToMeeting, BlueJeans, Microsoft Teams หรือ Zoom ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มจะมีคุณสมบัติและข้อควรพิจารณาที่แตกต่างกันเล็กน้อย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คู่กรณีจะต้องทดสอบและสำรวจทางเลือกของตนอย่างเหมาะสมก่อนที่จะตัดสินใจว่าข้อใดดีที่สุดสำหรับข้อพิพาทเฉพาะของตน นอกเหนือไปจากนี้ คู่พิพาทแต่ละฝ่ายควรพิจารณาใช้แพลตฟอร์มแยกต่างหากสำหรับการสื่อสารภายในภายในทีมของตน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการส่งข้อความภายในไปยังอีกฝ่ายหนึ่งหรือศาลบนแพลตฟอร์มที่ใช้ร่วมกันโดยไม่ได้ตั้งใจ ตัวอย่างเช่นดำเนินการไต่สวนบน Zoom แต่ใช้ Skype หรือ WhatsApp สำหรับติดต่อภายใน เป็นต้น
การรักษาความลับและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีทางออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ คำแนะนำและโปรโตคอลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้รับการเผยแพร่จากสถาบันเพื่อการพิจารณาอนุญาโตตุลาการแห่งต่าง เช่น โปรโตคอล ICCA-NYC Bar-CPR เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ (the ICCA-NYC Bar-CPR Protocol on Cybersecurity in International Arbitration) หรือ หมายเหตุของ ICC เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศในอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ (ICC’s Note on Information Technology in International Arbitration) เป็นต้น
นอกเหนือไปจากนี้ ความแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุดในการพิจารณาคดีเสมือนจริงกับการพิจารณาคดีแบบตัวต่อตัวนั้นจะเห็นได้ชัดเจนที่สุดในกรณีของกรณีพิพาทระหว่างประเทศในเรื่องของค่าใช้จ่าย เมื่อค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าที่พักของผู้เข้ารับการพิจารณาถูกหักออกจากงบประมาณ จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก ในทำนองเดียวกัน ในกรณีที่การรวมกลุ่มไม่สามารถทำได้หรือเป็นที่ต้องการเนื่องจากการขนส่งในการจัดหาและปรับปรุงเอกสารเหล่านั้น คู่ความฝ่ายต่าง ๆ อาจประหยัดค่าใช้จ่ายในการถ่ายเอกสารจำนวนมากได้อีกด้วย
ทั้งนี้ การระบาดของ COVID-19 นั้นได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการทำงาน โดยเป็นตัวการเร่งการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น มาตรการที่ออกโดยรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลกเพื่อจำกัดการระบาดของ COVID-19 นี้ทำให้กระบวนการยุติธรรมรวมไปถึงการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศต้องนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาปรับใช้ ซึ่งการพิจารณาคดีเสมือนจริงนี้สามารถเชื่อมต่อผู้พิพากษา อนุญาโตตุลาการ ที่ปรึกษา และพยานจากสถานที่ห่างไกลผ่านการตั้งค่าเสมือนจริงทำให้มีความยืดหยุ่นในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ความยืดหยุ่นนี้ ประกอบกับข้อดีสองประการของความคุ้มค่าและประสิทธิภาพ ทำมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นมีส่วนร่วมกับความเป็นไปได้ในการแก้ไขหรือตัดสินข้อพิพาทผ่านการพิจารณาคดีเสมือนจริงและการพิจารณาคดีระยะไกล
[1] ผู้สนใจสามารถอ่านรายงานฉบับต็มได้ที่ https://www.bakermckenzie.com/-/media/files/insight/publications/2021/01/future-of-disputes-campaign-brochure.pdf
ที่มา:
https://www.clydeco.com/en/insights/2021/07/the-new-norm-virtual-arbitration
https://www.clydeco.com/en/insights/2021/04/virtual-hearings-here-to-stay
https://go.adr.org/covid-19-virtual-hearings.html
https://www.adr.org/litigation-to-arbitration