
ต้องการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท? THAC ชวนรู้วิธีการยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ย

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นวิธีการที่ช่วยให้คู่กรณีสามารถหาหนทางยุติความขัดแย้งได้อย่างสันติ อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนและวิธีการในการไกล่เกลี่ยนั้นมีทั้งแบบดำเนินการผ่านหน่วยงานราชการและดำเนินการผ่านสถาบันต่างๆ ซึ่งในบทความนี้ของ THAC จะขอพาทุกคนมาทราบถึงวิธีการยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทั้งรูปแบบการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องและหลังฟ้อง การยื่นคำร้องผ่านหน่วยงานราชการและผ่านทางสถาบันอนุญาโตตุลาการ
รูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
- การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง
คือกรณีที่คู่พิพาทตัดสินใจที่จะยุติข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยก่อนจะนำเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องดำเนินคดี ซึ่งสามารถที่จะจัดตั้งผู้ไกล่เกลี่ยด้วยตนเองเพื่อดำเนินการประสานความเข้าใจได้ รวมถึงการเข้ามาไกล่เกลี่ยที่ศาลหรือไกล่เกลี่ยออนไลน์ ซึ่งเป็นไปประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 20 ตรี แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับสิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัว หรือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์จะไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้
- การไกล่เกลี่ยหลังฟ้อง
สำหรับการไกล่เกลี่ยหลังฟ้อง คือกรณีเมื่อข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว และอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี สามารถแสดงความประสงค์ต่อศาลเพื่อให้เข้าสู่ระบบการไกล่เกลี่ยได้ คู่ความมีสถานะเป็นโจทก์หรือจำเลยก็ได้ ซึ่งจะมีการจัดตั้งผู้ประนีประนอมขึ้นมาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยอาจจะเป็นผู้พิพากษาหรือผู้ประนีประนอมประจำศาลก็ย่อมได้ เมื่อตกลงเรียบร้อยจะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นในชั้นศาลและศาลจะมีคำพิพากษาไปตามที่คู่ความได้ตกลงยินยอมกัน อย่างไรก็ตาม หากการไกล่เกลี่ยสิ้นสุด แต่ไม่เป็นผล คู่ความสามารถดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อไปได้
การยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง
สำหรับใครที่สนใจอยากดำเนินการขอไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง สามารถที่จะดำเนินการได้ 2 รูปแบบ คือการยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจและการตกลงคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ยจากสถาบันต่างๆ
- การยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจ: โดยสามารถที่จะยื่นคำร้องด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ต่อศาลที่มีเขตอำนาจหรือการสแกน QR Code ผ่านเข้าระบบ CIOS โดยหลังจากที่คำร้องเข้าระบบแล้ว เจ้าหน้าที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยจะเสนอต่อผู้พิพากษาให้พิจารณาสั่งรับคำร้อง และดำเนินการส่งคำร้องเพื่อให้เข้าร่วมการไกล่ข้อพิพาท โดยหากประสงค์เข้าไกล่เกลี่ยให้ตอบรับภายใน 15 วันหลังจากส่งคำร้อง โดยจะมีกำหนดวันและวิธีการไกล่เกลี่ยและคู่กรณีจะเดินทางมายังศาล มีการแต่งตั้งผู้ประนีประนอมเพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ยได้ ในกรณีที่หาข้อสรุปร่วมกันได้จะมีการดำเนินการทำสัญญาประนีประนอมขึ้น ส่วนในกรณีที่ไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ จะมีการขยายอายุความออกไปอีก 60 วันนับตั้งแต่วันที่ไกล่เกลี่ยสิ้นสุด
- ตกลงคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ยจากสถาบันต่างๆ : เป็นอีกหนึ่งวิธีในการขอไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง โดยวิธีการนี้จะเป็นการตกลงค้นหาผู้ไกล่เกลี่ยจากสถาบันต่างๆ ที่มีความชำนาญหรือประสบการณ์ในข้อพิพาทนั้นๆ มาดำเนินการไกล่เกลี่ย โดยสถาบันจะเป็นผู้ดำเนินการให้คู่พิพาทหาหนทางที่จะยุติข้อพิพาทอย่างสันติและดำเนินการดูแลในส่วนสัญญาประนีประนอมด้วย เหมาะสำหรับการยุติข้อพิพาทระหว่างองค์กรหรือทางธุรกิจ
เลือกผู้ไกล่เกลี่ยที่มีคุณภาพและประสบการณ์กับ THAC
ทาง THAC มีความยินดีในการให้บริการด้านประนอมข้อพิพาททางเลือกนอกศาล ทั้งการประนีประนอม การไกล่เกลี่ย ตลอดจนการอนุญาโตตุลาการ หากสนใจสามารถที่จะยื่นคำเสนอขอให้ระงับข้อพิพาทต่อสถาบัน โดยสามารถทำคำเสนอให้เป็นทั้งรูปแบบหนังสือและวาจาได้ หลังจากนั้น THAC จะตรวจคำเสนอ โดยให้รับคำเสนอและสำเนาพร้อมแจ้งกำหนดเวลาทำคำตอบรับไปยังคู่กรณี โดยจะต้องตอบรับ ซึ่งเมื่อมีการตอบรับแล้วจะเข้าสู่กระบวนการตั้งผู้ไกล่เกลี่ย ทาง THAC จะเรียกคู่กรณีมาประชุมเพื่อคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ย กำหนดขั้นตอน โดยมีการกำหนดสถานที่และภาษา เมื่อดำเนินการและสามารถตกลงกันได้ จะจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และถือเป็นการสิ้นสุดการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท อย่างไรก็ตาม หากหาข้อสรุปร่วมกันไม่ได้ อาจดำเนินการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการหรือฟ้องคดีต่อศาล
เกี่ยวกับเรา
สถาบันอนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center) หรือ THAC เป็นสถาบันฯ ที่ให้บริการด้านการอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาทในระดับสากล ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการที่มีความเป็นอิสระและมีมาตรฐานสากล ด้วยประสบการณ์และความชำนาญทางวิชาชีพ จึงทำให้มั่นใจได้ว่าผู้มาใช้บริการจะได้รับบริการที่ถูกต้องรวดเร็ว อีกทั้ง THAC ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ช่วยให้สะดวกสบายในการเดินทาง และมีอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่า ช่วยให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
บทความเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ย
- ต้องการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท? THAC ชวนรู้วิธีการยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ย
- ไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล แนะนำการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง จบข้อพิพาทอย่างสันติด้วยคนกลาง
- รู้จัก TalkDD ระบบไกล่เกลี่ยพิพาทออนไลน์ มิติใหม่ของกระบวนการยุติธรรมทางเลือก
- ความเป็นไปได้ของการระงับข้อพิพาททางเลือก (ADR ) บนกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
- เทคนิคสำคัญที่ช่วยให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำเร็จด้วยดี
- เจรจา หรือ ไกล่เกลี่ย หนทางไหนที่เหมาะในการระงับข้อพิพาทการค้าระหว่างประเทศ
- เกิดความขัดแย้ง แต่ไม่อยากขึ้นศาล? ชวนรู้จัก “การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท”หรือ”การประนอมข้อพิพาท”
- ระงับข้อพิพาทคดีทรัพย์สินทางปัญญานอกศาลผ่านการไกล่เกลี่ย
- แนวทางการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางเลือกกับ THAC
- การระงับข้อพิพาททางเลือกคืออะไร?
- ไกล่เกลี่ยหนี้สินแบบไหนไม่ให้ติดเครดิตบูโร
- ชวนรู้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง แตกต่างจากข้อพิพาททางอาญาอย่างไร
- ถอดบทเรียนแนวทางการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง
- THAC ชวนรู้ขั้นตอนการไกล่เกลี่ย ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?